top of page

5 อันดับโรคยอดฮิตใกล้ตัวสุนัข

ก็เพราะความแตกต่างของสุนัขแต่ละสายพันธุ์นี่ไง จึงทำให้อาการป่วยหรือแม้กระทั่งพฤติกรรม ในการแสดงออกถึงอาการป่วยแตกต่างกันออกไปทั้งนี้โดยส่วนมากแล้วจะสามารถแบ่งแยกโรคประจำ ตัวของสุนัขได้ตามขนาด, น้ำหนัก และรูปลักษณ์ของน้องหมาค่ะ ส่วนมากแล้วสุนัขพันธุ์เล็กอาจจะมี โรคสะบ้าเคลื่อนเนื่องจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไป, สุนัขที่มีขนหนาสองชั้นอาจจะเป็นโรคขนร่วงโดยไม่ ทราบสาเหตุ, สุนัขหน้าสั้นอาจจะเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจและปอดได้ง่ายกว่าสุนัขปกติ หรือแม้ กระทั่งสุนัขพันธุ์ใหญ่ก็อาจจะเป็นโรคผิวหนังหรือโรคเกี่ยวกับข้อกระดูกได้ง่ายค่ะ และนอกจากโรคจากกายภาพแล้ว โรคต่างๆ ของสุนัขที่เกิดขึ้นได้ภายในร่างกายก็น่ากลัวไม่ได้แพ้กัน นะคะ ซึ่งส่วนมากแล้วสุนัขที่มีอาการป่วยที่ไม่ใช่ทางกายภาพมักจะไม่แสดงอาการออกมาให้เห็นโดย ทันทีค่ะ เพื่อนๆ ต้องอาศัยการสังเกตให้มากขึ้นจึงจะทราบว่าน้องหมากำลังป่วยหรือมีอาการผิดปกติค่ะเพราะโรคยอดฮิต 5 อันดับก็จะมีอาการและสาเหตุที่แตกต่างกัน ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลยค่ะ

1. โรคหัด

โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสค่ะ มักเกิดกับสุนัขเด็กอายุ ตั้งแต่ 2 – 3 เดือน แต่สุนัขโตก็สามารถเป็นได้เช่นกันนะคะ ที่สำคัญโรคนี้มีโอกาสหายน้อยมาก อาการที่จะสังเกตได้คือ สุนัขจะมีน้ำมูกเขียวไหลย้อย ดูเหมือนปอดบวม มีไข้ เบื่ออาหาร ซึม มีตุ่มหนองขึ้นที่ใต้ท้อง เมื่อสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยด่วนเลยค่ะ ส่วนวิธีการดูแลไม่ให้เกิดโรคไข้หัดก็ควรฉีดวัคซีน ป้องกันตั้งแต่อายุ 2 เดือน และฉีดซ้ำทุกๆ ปีๆ ละ 1 ครั้งค่ะ

2. โรคปอดบวม

โรคยอดฮิตประจำตัวสุนัขที่เกิดขึ้นได้ง่าย และพบเห็นได้บ่อยเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงหรือเข้า สู่ช่วงหน้าฝน โดยมากพบในสุนัขที่มีอายุมากเนื่อง จากภูมิคุ้มกันค่อนข้างน้อย เชื้อแบคทีเรียจะทำให้ ปอดอักเสบติดเชื้อลุกลามไปจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ อาการที่สังเกตได้คือน้องหมาจะหายใจกระหืด กระหอบ มีน้ำมูกไหลออกมาเป็นสีขาวจนถึงสีเขียวข้น บางครั้งอาจมีอาการอาเจียนไอมีเสลดหนาในลำคอ วิธีการดูแลไม่ให้เกิดโรคคือ ควรรักษาความสะอาด ให้ความอบอุ่นโดยเฉพาะที่คอ หน้าอกและหลัง อาจ จะเลือกปูรองพื้นที่นอนด้วยผ้า ห้ามไม่ให้สุนัขนอนที่ เย็นๆ หรือโดนฝนสาดโดยเด็ดขาดค่ะ

3. โรคลำไส้อักเสบ

โรคลำไส้อักเสบถือเป็นโรคที่ระบาดได้ง่าย และรวดเร็วมากๆ ค่ะ โดยปกติโรคนี้จะไม่มียารักษา โดยตรง ทำได้เพียงแค่รักษาตามอาการที่พบเท่า นั้นค่ะ อาการที่สังเกตได้คือ สุนัขจะมีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง อาเจียนมาก เบื่ออาหาร มีไข้สูง นอนซม หมดแรง ในระยะสุดท้ายอาจมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ ส่งกลิ่นคาวค่อนข้างรุนแรง วิธีการดูแลและป้องกันไม่ให้สุนัขเป็นโรคดังกล่าว คือการฉีดวัคซีนให้ลูกสุนัขตั้งแต่อายุได้ 2 เดือนค่ะ หลังจากนั้นฉีดกระตุ้นอีก 1 เข็มในช่วงวัย 3 เดือน และฉีดซ้ำทุกๆ ปี ปีละ 1 ครั้งค่ะ

4. โรคเห็บหมัดสุนัข

ด้วยอากาศในบ้านเราค่อนข้างร้อนชื้นเหมาะ แก่การเจริญเติบโตของเห็บและหมัดเป็นอย่างมาก ซึ่งสุนัขบางตัวอาจจะมีอาการแพ้น้ำลายเห็บทำให้ผิว หนังอักเสบบวมแดงคัน ซึ่งเจ้าของต้องสังเกตอาการ อย่างใกล้ชิดอีกทั้งเห็บและหมัดยังเป็นพาหะนำโรคพยาธิเม็ดเลือดอีกด้วยนะคะ น่ากลัวมากๆ เลยค่ะ :( วิธีการดูแลปัญหาเห็บหมัดก็คือ การใช้ยาฆ่าเห็บที่มี ขายทั่วไปโดยใส่ไปที่ตัวสุนัขและดูแลทำความ สะอาดบริเวณที่สุนัขอาศัยอยู่เป็นประจำให้สะอาด เพื่อกำจัดต้นเหตุของปัญหาแบบถอนรากถอนโคนค่ะ

5. โรคพยาธิหนอนหัวใจ

โรคนี้ถึงชื่อจะดูไกล แต่จริงๆ แล้วสุนัขสามารถป่วยและเป็นโรคนี้ได้ง่ายกว่าที่คิดนะคะ เพราะโรคนี้มียุงเป็นพาหะนำโรค โดยการติดเชื้อเกิดขึ้นเมื่อยุงกินเลือดสุนัขที่มีตัวอ่อนของเชื้อ อยู่ซึ่งตัวอ่อนนั้นจะพัฒนาในตัวยุง จากนั้นจะปล่อยตัวอ่อนระยะติดเชื้อให้สุนัขตัวอื่นที่ยุงกินเลือด ซึ่งสุนัขที่ถูกยุงตัวนั้นกัดก็จะได้รับถ่ายทอดพยาธิตัวแก่ค่ะ โดยมากอาการของโรคจะแสดงเมื่อสุนัขมีอายุมากกว่า 4 ปีขึ้นไปอาการที่แสดงออกมาคือ ภาวะการซึมเหนื่อยง่าย หายใจหอบ ร่างกายอ่อนเพลีย ไอแห้งๆ และบางตัวจะมีเลือดออกมาด้วยเมื่อไอในระยะต่อมาจะบวมน้ำและเสียชีวิตในที่สุด วิธีการดูแลให้สุนัขห่างไกลโรคพยาธิหนอนหัวใจทำได้ง่ายๆ คือไม่ปล่อยให้สุนัขถูกยุงกัด โดยเด็ดขาด ส่วนวิธีการกันสุนัขให้ห่างไกลจากยุงร้ายก็มีหลากหลายวิธีดังต่อไปนี้เลยค่ะ - เลือกให้สุนัขอยู่ในกรงในตอนกลางคืน หรือระหว่างการนอน ทั้งนี้กรงที่เลือกให้สุนัขอยู่ ควรมีมุ้งลวดมิดชิดไม่มีช่องโหว่ให้ยุงบินเข้ามาก่อกวนได้ค่ะ แต่ต้องไม่ลืมเรื่องระยะเวลาในการขังลูกๆ อยู่ในกรงนะคะ เพราะสุนัขที่อยู่ในกรงนานจนเกินไปอาจเกิดอาการเครียด และก้าวร้าวได้ค่ะ - ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจให้กับสุนัข ควรเลือกฉีดให้ตั้งแต่เด็กๆ ก่อนที่สุนัขจะเป็น โรคพยาธิหนอนหัวใจค่ะ เพราะถ้าหากสุนัขเป็น โรคนี้แล้ว การฉีดวัคซีนจะทำให้ตัวอ่อนที่อยู่ใน หัวใจตาย และขัดขวางการไหลเวียนของเลือด ทำให้หัวใจต้องบีบตัวแรงขึ้นเป็นการชดเชย ทำให้สุนัขเหนื่อยและหอบง่ายค่ะ

ที่มา : https://www.dogilike.com/ ค่ะ


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Social Icon
bottom of page